
📣 หลักเกณฑ์ วิธีการ ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย สำหรับแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
วันที่ 13 มิถุนายน 2568 กรุงเทพมหานครจะเริ่มเก็บค่าบำบัดน้ำเสียตามอัตราใหม่ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยอัตราค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไปตามประเภทของแหล่งกำเนิดน้ำเสีย เช่น บ้านพักอาศัยจะอยู่ที่ 2 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนโรงงานและโรงแรมที่มีการใช้น้ำเกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน จะอยู่ที่ 8 บาทต่อลูกบาศก์เมตร. สรุปอัตราค่าธรรมเนียมใหม่: ประเภทที่ 1: บ้านเรือน อาคารชุด คอนโดฯ หอพัก: 2 บาท/ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ประเภทที่ 2: หน่วยงานรัฐ ศาสนสถาน โรงเรียน สถานพยาบาล และสถานประกอบการที่ใช้น้ำไม่เกิน 2,000 ลบ.ม./เดือน: 4 บาท/ลูกบาศก์เมตร ประเภทที่ 3: โรงแรม โรงงาน และสถานประกอบการที่ใช้น้ำเกิน 2,000 ลบ.ม./เดือน: 8 บาท/ลูกบาศก์เมตร ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป

รู้ไว้ดีกว่า! เชื้อ "อะแคนทามีบา" อันตรายแฝงน้ำประปา
รู้จักเชื้อปรสิต “อะแคนทามีบา” อันตรายแฝงในน้ำ!! หลังทำลูกบ้านคอนโดตาแดงเพียบ จากกรณีพบประชาชนป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ และตาแดง จำนวน 200 คน ในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยจากการตรวจสอบพบเชื้ออะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ในน้ำประปา นพ.อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เชื้ออะแคนทามีบา (Acanthamoeba) เป็นเชื้อปรสิตที่ก่อโรคและพบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น น้ำ ดิน ฝุ่นละออง ซึ่งก่อให้เกิดโรคได้ไม่บ่อย แต่ทุกคนสามารถติดเชื้อได้ ซึ่งอาการมักไม่รุนแรง โรคที่พบบ่อยที่สุดหากติดเชื้อนี้คือ กระจกตาอักเสบ (Acanthamoeba keratitis) โดยพบว่าผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อ และเกิดกระจกตาอักเสบ หากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี ใส่ไม่ถูกสุขลักษณะ ใส่ในขณะที่ว่ายน้ำหรืออาบน้ำ รวมทั้งผู้ที่เคยมีประวัติกระจกตาอักเสบมาก่อน ผู้ป่วยมักมีอาการปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล แพ้แสง การมองเห็นลดลง สำหรับการติดเชื้อที่สมองหรือการติดเชื้อแบบแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีความรุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านทางดวงตาโดยเฉพาะในผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ ทางบาดแผลที่ผิวหนัง การสูดหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอด ในส่วนของการป้องกันการติดเชื้อที่กระจกตา และการรักษา ทำได้โดยการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนสัมผัสดวงตา หลีกเลี่ยงการขยี้ตา เพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายสู่ดวงตาได้ ใช้น้ำสะอาดในการอุปโภค บริโภค หลีกเลี่ยงการใช้สระว่ายน้ำที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือใช้ของร่วมกับคนที่ป่วยเป็นโรคตาแดง เพราะจะทำให้ติดต่อกันได้ง่าย ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์นั้น การดูแลรักษาความสะอาดคอนแทคเลนส์มีความสำคัญมาก ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำประปาหรือน้ำจืดในการล้างเลนส์ เชื้อนี้ถูกทำลายด้วยวิธีการเติมคลอรีนให้มีคลอรีนอิสระคงเหลือไม่ต่ำกว่า 0.2 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ควรไปรับการตรวจรักษาเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง กรณีมีการติดเชื้อ แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ขอบคุณข้อมูล ข่าว #sanook -------------------------------------------------------------------------- ติดต่อขอรับบริการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Tel : 063-8435954 Sale น้ำ, 083-9915574 Sale อั้ม Email : info@testtech.co.th ID line : @testtech