news

ปลูกป่าแก้โลกร้อน?

10-03-2021

รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย ประจำปี 2562–2563 // ขอบคุณภาพ: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

 

กราฟนี้คือสถิติปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของไทย ถ้าสังเกตดีๆ ตั้งแต่ช่วงปี 2545 เป็นต้นมาพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยแทบจะไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเลย เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงนั้นน้อยมาก นั่นหมายความว่าอะไร? ก็หมายความว่าที่รณรงค์ให้ทุกคนปลูกป่ากันมาเป็นสิบๆ ปี มันไม่ได้มีผลอะไรเลยในระดับประเทศ แล้วถามว่ามารณรงค์ปลูกป่าวันนี้ เราจะมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นไหม – แทบจะเป็นไปไม่ได้ เราต้องมาดูปัญหาจริงๆ ว่าเราเสียพื้นที่ป่าจากอะไร อุปสงค์มาจากไหน และอะไรทำให้เกิดการบุกรุกป่า การรณรงค์ให้ทุกคนไปปลูกป่าจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์หรือมีก็น้อยมาก ในระดับท้องถิ่น คำถามที่ตามมาจากการรณรงค์ให้ทุกคนปลูกป่าคือปลูกที่ไหน ปลูกอะไร และปลูกยังไง ซึ่งคำตอบเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ส่วนใหญ่โครงการปลูกป่าสำหรับคนเมืองในอดีตก็เป็นแค่โครงการ CSR ที่ไม่ได้สนใจสภาพแวดล้อมของป่านั้นๆ ด้วยซ้ำ หรือเรียกง่ายๆ ก็คือสักแต่ว่าปลูก ดังนั้นการบอกให้ทุกคนปลูกป่าเพื่อแก้ปัญหา climate change จึงไม่ใช่สิ่งที่ทำได้จริง ไม่มีประโยชน์ และไม่ใช่คำตอบสำหรับประเทศไทย

ประหยัดพลังงาน ลดพลาสติก

“ปิดไฟ อย่าใช้พลังงานสิ้นเปลือง” การประหยัดพลังงาน เป็นการรณรงค์สุดคลาสสิคที่ทำกันมาทั้งโลกหลายสิบปี ถามว่ามีประโยชน์ไหม – มี แต่ถามว่าแก้โลกร้อนได้ไหม ก็ต้องตอบเลยว่า – ไม่ได้ เพราะปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ในระดับครัวเรือนนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม และถามว่าภาคธุรกิจเองเขาพยายามจะประหยัดไหม แน่นอนเขาก็อยากประหยัดอยู่แล้วเพราะอยากที่จะลดต้นทุน สิ่งที่น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าคือการเน้นไปที่นโยบายส่งเสริมการประหยัดพลังงานในภาคธุรกิจ หรือการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดโดยใช้กลไกราคาพลังงานของตลาด

1.) สถานการณ์การใช้น้ำมันและไฟฟ้า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563, สนพ. 2.) การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานแยกรายภาคเศรษฐกิจ // ขอบคุณภาพ: สนพ.

มาถึงเรื่อง การลดพลาสติก ช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมาไทยมีการรณรงค์เรื่องนี้ค่อนข้างมาก แต่ต้องถามว่าสิ่งที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนจริงๆ คือทุกคนหันมาใช้พลาสติกน้อยลงเพราะตระหนักถึงความสำคัญ หรือว่าเป็นเพราะนโยบายกลไกการเก็บเงินค่าถุงพลาสติก ทุกคนน่าจะรู้ว่าแค่ต้องจ่ายเพิ่ม 1–2 บาทเป็นค่าถุงพลาสติก ก็ไม่มีใครอยากจ่ายแล้ว และเมื่อภาครัฐจริงจังมากขึ้น บังคับใช้กฎหมายมากขึ้น ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในไทยนั้นก็ลดลงไปมหาศาล ถ้าใครตามข่าวก็คงจะเห็นผลที่เกิดตามมา เช่น ข่าว 400โรงงานดิ้นขอรัฐเยียวยา โรงงานถุงพลาสติกเจ๊งยังไงละ รัฐก็ต้อง หาจุดสมดุลระหว่างจะช่วยภาคธุรกิจหรือจะช่วยสิ่งแวดล้อม แต่การจะมาบอกให้ชาวบ้านแบบเราช่วยลดใช้ถุงพลาสติกช่วยโลกร้อน อันนี้ก็คงตอบได้เลยว่าไม่ได้ช่วยอะไรมาก ประโยชน์ของการลดใช้ถุงพลาสติกจริงๆ แล้วช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากกว่าทั้งบนดินและมหาสมุทร รวมไปถึงอาหารที่เรากินและคุณภาพอากาศที่เราหายใจ

แต่หลายคนอาจไม่รู้เลยว่าสิ่งหนึ่งที่พลาสติกกับโลกร้อนมีจุดยืนรวมกันก็คือ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่คนอื่นทั้งโลกเสียประโยชน์ นั้นเอง เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตถุงพลาสติกก็คือน้ำมันดิบนั้นเอง และในยุคที่บริษัทน้ำมันกำลังล่มจม บริษัทน้ำมันเหล่านี้เองก็เร่ง ผลิตพลาสติกออกมาให้ได้มากที่สุดและไวที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะชดเชยกำไรที่ลดลงจากการขายน้ำมัน ถ้าใครสนใจสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ Big Oil Is in Trouble. Its Plan: Flood Africa With Plastic.

Cr: Greenery

logoTEST TECH

บริษัท เทสท์ เทค จำกัด (สำนักงานใหญ่)
30, 32 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 63 ถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร: 02-893-4211-17, 087-928-5554
แฟกซ์: 02-893-4218
อีเมล: info@testtech.co.th, wanwalee.d@testtech.co.th
เราใช้คุกกี้ในเว็บไซต์ของเราเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเว็บไซต์ และเพื่อการให้บริการที่ดีที่สุดสําหรับคุณ โปรดอ่านนโยบายการใช้คุกกี้ เมื่อคุณเข้าใช้เว็บไซต์นี้เราถือว่าคุณยินยอมให้จัดเก็บและเข้าถึงคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณ
3000
4900
th