ระบบนิเวศและสายพันธุ์ปลาที่หลากหลายในลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญของประชากรกว่า 60 ล้านคน ใน 4 ประเทศลุ่มน้ำโขง

จากผลการศึกษา ทีมนักวิจัยโครงการ CounterMEASURE พบว่า พื้นที่ท้ายน้ำมีปริมาณค่าเฉลี่ยไมโครพลาสติกสูงกว่าจุดอื่นของลุ่มน้ำอย่างเห็นได้ชัด เช่นที่ บริเวณกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีค่าเฉลี่ยไมโครพลาสติกสูงถึง 2.13 ชิ้น/ลูกบาศก์เมตร โดยพื้นที่ที่พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนสูงสุดอยู่ที่เมืองเกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง สำหรับแม่น้ำโขงในเขตประเทศไทยก็ตรวจพบการปนเปื้อนไมโครพลาสติกเช่นกัน โดยพบว่า แม่น้ำโขงบริเวณ จ.อุบลราชธานี มีปริมาณไมโครพลาสติกปนเปื้อนราว 0.38 ชิ้น/ลูกบาศก์เมตร  และที่ จ.เชียงราย 0.23 ชิ้น/ลูกบาศก์เมตร โดยไมโครพลาสติกที่พบนั้นเป็นพลาสติกประเภท PP (Polypropylene) มากที่สุด ซึ่งเป็นพลาสติกประเภทที่ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร แตกต่างกับการสำรวจไมโครพลาสติกในแม่น้ำประเทศญี่ปุ่นซึ่งพบเป็นพลาสติกประเภท PE (Polyethylene) ซึ่งใช้ผลิตขวดน้ำ อย่างไรก็ดี Kakuko กล่าวว่า เนื่องจากไมโครพลาสติกเป็นมลพิษใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบไม่นาน การศึกษาวิจัยจึงยังจำกัด ทำให้ปัจจุบันยังไม่มีค่ามาตรฐานปัจจุบันว่าค่ามาตรฐานที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมควรมีค่าเท่าใด “สาเหตุที่ขยะพลาสติกปนเปื้อนลงแหล่งน้ำเป็นเพราะมาตรการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพและไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดการทิ้งขยะในที่โล่ง ซึ่งเมื่อมีฝนหรือน้ำท่วม จะเสี่ยงรั่วไหลลงแม่น้ำมูล นอกจากนี้ยังพบแหล่งทิ้งขยะผิดกฎหมายหลายจุด เพราะส่วนปกครองท้องถิ่นจัดหาระบบทิ้งขยะให้ไม่ทั่วถึง เช่น อุบลราชธานีมี 238 ส่วนปกครอง มีเพียง 95 แห่งที่เท่านั้น” เธอกล่าว “ผลสำรวจพิสูจน์ให้เห็นว่าปัญหาขยะพลาสติกเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงแต่ละพื้นที่ เพราะฉะนั้นเราจะต้องหามาตรการรับมือต่างกัน  เราแนะนำให้ใช้มาตรการแบนการใช้พลาสติกที่ครอบคลุมทั้งประเทศ และส่งเสริมวิธีแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเสี่ยงขยะรั่วไหลลงแหล่งน้ำ” รายงานการศึกษาโดยทีมนักวิจัยจาก Helmholtz Center for Environmental Research ประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ.2561 เผยว่า แม่น้ำโขงเป็น 1 ในแม่น้ำ 10 สายที่ปล่อยขยะพลาสติก และไมโครพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลก โดยประมาณการณ์ว่าในแต่ละปีจะมีขยะพลาสติกที่ไม่ได้ถูกจัดการอย่างเหมาะสมไหลลงแม่น้ำโขงสู่ทะเลกว่า 33,431 ตัน ในขณะที่ รายงานการศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในปลาน้ำจืดในแม่น้ำชี โดย ภัททิรา เกษมศิริ และ วิภาวี ไทเมืองพล ซึ่งเพิ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of GEOMATE เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เผยว่า มลพิษไมโครพลาสติกในลุ่มแม่น้ำโขงได้แทรกซึมปนเปื้อนเข้าสู่ระบบนิเวศ และห่วงโซ่อาหาร เรียบร้อยแล้ว ผศ.ดร.ภัททิรา เกษมศิริ นักวิจัยจาก คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หนึ่งในนักวิจัยเจ้าของงานศึกษาดังกล่าว กล่าวว่า จากการเก็บตัวอย่างปลาน้ำจืดที่จับจากแม่น้ำชี ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง และถูกนำมาขายในตลาดท้องถิ่น 6 แห่งใน จ.มหาสารคาม จำนวนทั้งหมด 107 ตัวอย่าง พบว่า มีปลาทั้งหมด 78 ตัวอย่าง หรือ 72.9% ของตัวอย่างทั้งหมดที่สุ่มตรวจ มีเศษไมโครพลาสติกในกะเพาะอาหารราว 1 – 2 ชิ้น / ตัว จากการตรวจสอบเศษไมโครพลาสติกที่พบในปลา ผศ.ดร.ภัททิรา เผยว่า กว่า 87% ของชิ้นส่วนไมโครพลาสติกเหล่านี้ เป็นพลาสติกจำพวกเยื่อไฟเบอร์ และ 57% มีลักษณะเป็นสีฟ้า ซึ่งชี้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้มาจากเศษซากอวนแห เครื่องมือประมงสมัยใหม่ที่ทำมาจากพลาสติกไฟเบอร์สีฟ้า จากการประมงและเพาะเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำ ในขณะที่การวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างปลาที่ตรวจพบไมโครพลาสติก ไม่พบแนวโน้มในระหว่างสายพันธุ์ว่าจะมีการที่สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งบริโภคพลาสติกมากกว่าสายพันธุ์อื่น ซึ่งตีความได้ว่าปลาในแม่น้ำโขงอาจล้วนเสี่ยงต่อการคุกคามจากพลาสติก และเป็นที่ชัดเจนว่าสุดท้ายไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็จะถ่ายทอดตามห่วงโซ๋อาหารมาถึงมนุษย์ในที่สุด ระบบนิเวศและสายพันธุ์ปลาที่หลากหลายในลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญของประชากรกว่า 60 ล้านคน ใน 4 ประเทศลุ่มน้ำโขง //ขอบคุณภาพจาก: International Rivers “เมื่อเปรียบเทียบกับรายงานการศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในปลาทะเลจากอ่าวไทย และอ่างเก็บน้ำในประเทศจีน ปริมาณการปนเปื้อนไมโครพลาสติกที่พบในปลาจากแม่น้ำชีถือได้ว่ามีปริมาณค่อนข้างน้อยกว่า อีกทั้งขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหารต่อมนุษย์อย่างชัดเจน แต่การค้นพบครั้งนี้ก็ชี้ชัดว่าระบบนิเวศแม่น้ำชีมีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระดับปานกลาง” เธอกล่าว “ยิ่งไปกว่านั้น เศษไมโครพลาสติกเหล่านี้ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลายชนิดเช่น สไตรีน, สารโลหะหนัก, Polychlorinated Biphenyls (PCBs), รวมไปถึง polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลาและระบบนิเวศแม่น้ำได้” ผศ.ดร.ภัททิรา กล่าวสรุปว่า ผลการศึกษาชิ้นนี้ย้ำถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกๆ ภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้ โดยการลดใช้พลาสติก หันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการขยะ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกปล่อยทิ้งลงสู่แม่น้ำโขง Cr: Green News

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ยืนยันแอปพลิเคชัน Air4thai ตั้งค่าเฉลี่ยตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ตามมาตรฐานสากล มีสถานีตรวจวัดฝุ่นที่ป้อนค่าสารมลพิษ 6 รายการ ประมวลผลตามหลัก US-EPA ก่อนจะรายงานเพื่อแจ้งข้อมูลประชาชน

กรณีการแชร์ข่าวแอปพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ไม่ได้มาตรฐาน ล่าสุดวันนี้ (13 พ.ย.2563) ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง และไม่ได้ตั้งค่าเฉลี่ยตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ต่ำกว่ามาตรฐานสากล ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าว ว่า เครื่องมือในการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองที่นำมาใช้ในการเผยแพร่ผ่านแอปพลิเคชัน Air4thai ยึดค่ามาตรฐาน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด และสอดคล้องกับการรายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศแต่ละชนิดตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลกใช้ โดยอิงจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (USEPA) โดยเฉพาะค่าฝุ่น PM2.5 จะวัดทั้งค่ารายชั่วโมง และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก.ต่อลบ.ม.)   “ขอให้ประชาชนมั่นใจในคุณภาพแอปพลิเคชัน Air4thai ว่าไม่ได้ต่ำกว่ามาตรฐานแน่นอนโดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 อิงค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก.ต่อลบ.ม. ซึ่งบางคนอาจจะแย้งเรื่องเครื่องวัดฝุ่นจิ๋วที่นำมาใช้ แต่ต้องเข้าใจว่าเครื่องวัดฝุ่นแบบพกพาไม่ได้ใส่ข้อมูลสารมลพิษชนิดอื่นด้วย”   ชี้สถานีวัดฝุ่น PM 2.5 ได้มาตรฐาน                   อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ทั้งนี้สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของคพ.และของกทม.มีกระจายทั่วประเทศ และตัวสารมลพิษทางอากาศที่นำมาประมวลผลมีทั้ง PM2.5 ฝุ่น PM10 ก๊าซโอโซน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งจะทำให้การคำนวณค่าดัชนีคุณภาพอากาศออกมาแม่นยำขึ้น                    “Air4thai ไม่ใช่แค่เครื่องมือวัดแบบทั่วไป แต่มีสถานีตั้งและยึดหลักทางวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ตัวอย่างทางอากาศ ส่วนแบบเครื่องพกพา ถามว่ารับรองจากใคร แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าประชาชนใช้อุปกรณ์แบบนั้นไม่ได้ แต่ขอให้ดูจากค่ามาตรฐานกลาง ”   ขณะที่การแจ้งเตือนประชาชน และระดับการแก้ปัญหาจากเบาไปหาหนักว่าต้องทำอะไรในกรณีที่ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน ซึ่งถ้าเกิน 51-75 มคก.ต่อลบ.ม. หน่วยงานต้องดำเนินมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ระดับที่ 3 ระหว่าง 76-100 ผู้ว่าฯกทม./จังหวัดจะเป็นผู้บัญชาเหตุการณ์โดยใช้อำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องควบคุมพื้นที่ และควบคุมแหล่งกำเนิดกิจกรรมที่ทำให้เกิดมลพิษ และถ้าเกิน 100 ต้องเสนอระดับกรรมการมลพิษ และบอร์ดสิ่งแวดล้อม พิจารณาสั่งการ       ทีมา : กรมควบคุมมลพิษ

‘คามิคัตสึ’ โมเดลเมืองต้นแบบของโลก “ขยะเป็นศูนย์”

คามิคัตสึ (Kamikatsu) เมืองเล็กๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เกาะชินโชกุของญี่ปุ่น มีกระบวนการจัดการขยะที่ทรงประสิทธิภาพ อย่างการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท จากการนำแนวคิด Zero Waste พร้อมกับใช้หลักการง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้โดยการ ลดขยะ (reduce) รีไซเคิล (recycle) และการใช้ซ้ำ (reuse) จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นเมืองต้นแบบที่ปลอดขยะของโลก  ในปีนี้ตั้งเป้าหมายไว้สุดท้าทาย คือการเป็นเมืองที่ปลอดขยะ 100% ซึ่งตอนนี้เมืองคามิคัตสึสามารถจัดการขยะได้กว่า 80 % ที่เหลืออีก 20 % จัดการด้วยการฝังกลบ โดยส่วนที่เป็นขยะเปียก หรือขยะอินทรีย์ก็ถูกแปรรูปหมักเป็นปุ๋ยหมัก ทั้งแบบหมักในถังพลาสติกและย่อยสลายในถังไฟฟ้า Zero Waste Academy เมืองคามิคัตสึ เป็น 1 ใน 8 เมือง Zero Waste ของญี่ปุ่นที่ถูกยกเป็นโมเดลเมืองปลอดขยะ ที่นี่นำแนวคิด Zero Waste มาใช้เมื่อปี 2003 ในช่วงแรกก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำโดยง่ายดายเพราะต้องเริ่มด้วยการเข้าไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน โดยให้เริ่มจากการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน พร้อมกับการจัดตั้งสถานีแยกขยะไว้ในชุมชน ซึ่งหนึ่งในกลไกสำคัญที่ทำให้เมืองคามิคัตสึกลายเป็นมืองปลอดขยะ คือ ศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับขยะ หรือ Zero Waste Academy องค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ให้ความรู้และมีระบบบริหารจัดการ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่าเมืองคามิคัตสึ มีการจัดการปัญหาขยะ 2 แบบ คือ 1. ใช้พลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ย 2. เป็นแบบใช้ถังขยะเปียกเพื่อหมักขยะในบ้าน โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น เครื่องหมักขยะราคา 52,000 เยน รัฐบาลจะช่วยออก 40,000 เยน และ ประชาชนจ่ายแค่ 10,000 เยน ด้วยวิธีนี้ทำให้ขยะเปียกของที่นี่ถูกกำจัดได้หมด จึงถือว่าเป็นโมเดลที่น่าสนใจ ที่รัฐจะต้องเข้ามาสนับสนุน (Subsidy) ส่วนขยะแห้งต้องมีการแยกขยะที่บ้าน และชาวบ้านต้องนำมาส่งเพื่อแยกอีกทีที่ศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับขยะ ที่เรียกว่า Zero Waste Academy ทำหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชนเรื่องการจัดการขยะในทุกๆด้าน โดยมีหลักการ/แนวคิด (Concept) ว่าไม่มีขยะ หรือ Zero Waste ซึ่งหมายถึง สิ่งของทุกชิ้นยังมีคุณค่าไม่ใช่ของที่จะทิ้ง แต่สามารถปรับปรุงหรือรีไซเคิล เพื่อนำมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งคนญุี่ปุ่นจะมีเป็นคนที่เคารพกฎหมายมาก การทิ้งขยะของคนญุี่ปุ่น มีความเข้มงวดถึงขนาดว่าต้องมีการจ่ายเงินเพื่อการจัดการขยะ เช่น หากต้องการทิ้งขยะต้องไปซื้อสแตมป์ซึ่งเท่ากับเป็นการจ่ายค่าจัดการขยะตามราคาของสิ่งของที่จะทิ้ง “การทิ้งขยะของญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะต้องเสียเงิน หรือใช้ระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต Extended Producer Responsibility; EPR) ซึ่งแม้แต่การซื้อรถของญุี่ปุ่นก็มีการบวกค่าจัดการขยะไว้แล้ว ทำให้คนญี่ปุ่นหันมาใช้รถสาธารณะ เห็นได้ว่าการจัดการบริหารขยะแบบประเทศญุี่ปุ่น เพื่อที่จะก้าวไปเป็น Zero Waste นั้นต้องมีการบูรณาการในทุกๆ ด้านทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคม รวมถึงต้องมีการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อให้การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม” เลขาธิการสช. กล่าว ถังขยะเปียกเพื่อหมักขยะในบ้าน ภาครัฐให้การสนับสนุน มีการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งข้าวเขียวขจีและป่าภูเขาบนเกาะชิโกกุทางตะวันตกของญี่ปุ่น ด้วยผู้อยู่อาศัยน้อยกว่า 1,700 คน ที่นี่จึงเป็นหมู่บ้านที่เล็กที่สุดบนเกาะแห่งนี้ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหมู่บ้านได้เป็นข่าวไปทั่วโลก ทั้งนี้เป็นเวลาหลายสิบปีที่หมู่บ้านแห่งนี้มีความคิดที่จะจัดการขยะ โดยติดว่าจะใช้เตาเผาขยะหรือฝังดิน อย่างไรก็ตามโครงการที่ใช้เตาเผาขยะได้ถูกล้มเลิกไป ทำให้หมู่บ้านต้องทบทวนแผนยุทธศาสตร์กำจัดขยะกันใหม่ จนกลายเป้าหมายที่ท้าทายและสูงส่ง นั่นคือการเป็นเมืองที่มีปลอดขยะ 100% ภายในปี 2563 ทุกวันนี้ขยะมากกว่า 80% ของเมืองไม่ต้องนำไปเผาและฝังกลบอีกต่อไปแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้ง่าย ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงแต่ทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติอย่างจริงจัง “ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ กลายเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวและนักพัฒนาที่อยากมาดูการจัดการขยะ ในแต่ละปีมีคนมาท่องเที่ยวที่นี่จำนวนมาก ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนที่นี่ แทบไม่น่าเชื่อว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ทิ้งขยะจากกลุ่มคนเล็กจะส่งสามารถมี impact ที่ีดีแบบนี้ต่อทั่วโลกได้ “ อาริกะ ประธาน Zero Waste Academy กล่าว อาริกะ ประธาน Zero Waste Academy   ที่มา : มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27503 https://citycracker.co/city-environment/kamikatsu-zero-waste/

อินเดียทรุดหนักเหตุ บ่อน้ำมันระเบิดไฟท่วม! รุนแรงหนักยังดับไม่ได้ เกิดเหตุมิถุนา กินเวลา 5 เดือนแล้ว เสียหายหนัก ผู้คน-สัตว์ตายสลด เกิดเหตุมิถุนา กินเวลา 5 เดือนแล้ว เสียหายหนัก ผู้คน-สัตว์ตายสลด

เหตุเพลิงไหม้และระเบิดที่เกิดจากบ่อก๊าซน้ำมันรั่วเมื่อวันที่ 9 มิถุยายน ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และสภาพจิตใจของผู้คน ส่วนเพลิงไฟยังคงลุกไหม้จนถึงทุกวันนี้เป็นเวลารวมทั้งหมด 150 วัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดียเลยก็ว่าได้ • เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน บากฮ์จาน (Baghjan) เขต ตินซูเกีย (Tinsukia) บ่อน้ำมันของบริษัท Oil India Limited (OIL) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย รั่วจนเกิดไฟไหม้ และระเบิดที่รุนแรงในเวลาต่อมา • มีนักดับเพลิงเสียชีวิตในวันแรกที่เกิดเหตุ 2 ราย และวิศวกรของบริษัท OIL เสียชีวิต 1 รายในขณะที่พวกเขากำลังพยายามดับไฟ • ผู้คนกว่า 3,000 ต้องถูกบังคับให้อพยพไปที่ศูนย์หลบภัย เพราะบ้านเรือนถูกไฟเผาไหม้ไปหมด • ซึ่งหลังจากเกิดเหตุ ทางบริษัท OIL กล่าวว่าพวกเขาได้มอบเงินกว่า 2.5 ล้านรูปี หรือประมาณ 1 ล้านกว่าบาท ชดเชยให้ครอบครัวผู้ได้รับความเสียหายที่ต้องเสียบาท และยังคงมอบเงินค่ากินอยู่ให้อีก 50,000 รูปีหรือประมาณ 20,000 กว่าบาทต่อเดือนแก่ครอบครัวที่ต้องย้ายไปอยู่ศูนย์หลบภัย • แต่ชาวบ้านยังคงประท้วง และต้องการให้แก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน • Dandeshwar Borah ชาวนาวัย 40 ปี ที่อยู่ในศูนย์หลบภัยกล่าวว่า “พวกเราได้รับเงินชดเชยจากบริษัทค่ากินอยู่ แต่ยังไม่ได้เงินชดเชยสำหรับผลผลิตที่หายไปกับกองเพลิง” • ตอนนี้ผู้คนเริ่มกลับมาอยู่ที่บ้านในละแวกเดิมแล้ว แต่สำหรับครอบครัวที่บ้านอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุยังคงอยู่ศูนย์หลบภัยชั่วคราว เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถดับไฟได้สนิท • นักข่าวท้องถิ่น Nawantil Urang อธิบายถึงสภาพแวดล้อมของที่เกิดเหตุว่า “ความร้อน ควัน และเสียงไฟปะทุทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่อันตราย ชาวบ้านหลายคนร้องเรียนว่าพวกเขาอยู่ลำบาก บางคนมีโรควิตกกังวล มีอาการไมเกรน ไม่อยากอาหาร และรู้สึกแสบตา” • Bijit Bordoloi ผู้จัดการบริษัทเกี่ยวกับไฟฟ้า พ่อของวิศวกรผู้เสียชีวิตก็ไม่พอใจกับ OIL เขากล่าวว่า “เรายังมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการตายของลูกชายผม OIL ยังไม่เคยออกมาชี้แจ้ง สิ่งหนึ่งที่สงสัยคือประเด็นของ Arnab (ผู้ตาย) ที่เป็นบุคคลากรใหม่ในองค์กร และยังไม่ได้ถูกรับรองให้แก้ไขปัญหาหรือจัดการปัญหาดังกล่าว” • ทาง OIL กล่าวว่าเหตุการณ์ครั้งไฟไหม้และระเบิดแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับบ่อน้ำมันทั่วโลก ถึงกระนั้น พวกเขาทราบดีว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแน่ๆ แต่ระบุว่ามันจะไม่เกิดขึ้นนานนัก • “เพราะว่าด้วยธรรมชาติของก๊าซ และการควบแน่น มันจะระเหยและถูกฝนชะล้างไป ดังนั้นก๊าซพวกนี้จะไม่ส่งผลระยะยาวไม่ว่าจะต่ออากาศหรือดิน” Tridiv ผู้จัดการอาวุโสผ่ายประชาสัมพันธ์ของ OIL กล่าว • อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลอัสสัมเผยกับสำนักข่าว BBC ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภัยคุกคามแก่ระบบนิเวศในท้องถิ่น • “การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งต้องใช้เวลาซ่อมแซมหรือรักษาเป็นเวลาหลายปี ประมาณ 3 กิโลเมตรจากจุดเกิดเหตุมีแหล่งระบบนิเวศสำคัญๆ อยู่บ้าง” ผู้เชี่ยวชาญคนดังกล่าวที่ไม่ได้เปิดเผยชื่อชี้ • ขณะนี้ทาง OIL กำลังใช้วิธี Snubbing ที่นำบ่อน้ำมันหนักมาใช้ ซึ่งหวังว่าจะดับไฟทั้งหมดได้ภายในกลางเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนนี้ ถึงแม้ว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาจะไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้เท่าไหร่ • สำหรับบ่อน้ำมันที่เกิดเหตุ มันตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ “Dibru-Saikhowa” กับหนองน้ำ “Maguri Motapung” ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าใกล้สูญพันธ์ุหลายชนิด ทั้งเสือ โลมา และช้าง • นักสิ่งแวดล้อมได้ออกมาเตือนหลังจากเกิดเหตุว่า สัตว์ป่ากำลังได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อน มีสารปนเปื้อนลงไปสู่แหล่งน้ำทั้งในหนองน้ำและในอุทยาน • ที่มา:  https://www.bbc.com/news/world-asia-india-54719286 https://www.thairath.co.th/news/foreign/1866912 Facebook Page: Environman

เทสท์ เทค สามารถตรวจวิเคราะห์ “สารกำจัดศัตรูพืช” ออร์กาโนคลอรีน (organochlorine)

บริษัท เทสท์ เทค จำกัด สามารถให้การตรวจวิเคราะห์ “สารกำจัดศัตรูพืช”  ที่อันตรายและตกค้างยาวนาน ในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน  ขอบข่ายสารมลพิษที่ได้รับขึ้นทะเบียนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสีย   ลำดับที่ สารมลพิษ วิธีวิเคราะห์ 1 Aldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 2 Arsenic Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 3 α-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 4 β-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 5 δ-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 6 γ-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 7 Chlordane Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 8 4,4’-DDD Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 9 4,4’-DDE Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 10 4,4’-DDT Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 11 Dieldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 12 Endosufan I  Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 13 Endosufan II Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 14 Endosufan Sulfate Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 15 Eldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 16 Eldrin Aldehyde Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 17 Heptachlor Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 18 Heptachlor epoxide Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 19 Selenium Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method   น้ำใต้ดิน ลำดับที่ สารมลพิษ วิธีวิเคราะห์ 1 Aldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 2 Arsenic Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 3 α-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 4 β-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 5 γ-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 6 Chlordane Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 7 DDD Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 8 DDE Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 9 DDT Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 10 Dieldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 11 Endosufan Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 12 Eldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 13 Heptachlor Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 14 Heptachlor epoxide Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 15 Selenium Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม TEL: 02-893-4211-17, 087-928-5554 FAX: 02-893-4218 info@testtech.co.th Facebook: TestTech

เปลี่ยนขยะเศษอาหารที่ไร้ค่า ให้กลับมามีประโยชน์ ด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์

รู้หรือไม่ว่า??? ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤติปัญหาขยะจำนวนมหาศาลประมาณ ๒๘ ล้านตันต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นขยะตกค้างที่ไม่สามารถกำจัดได้ ๕.๘ ล้านตัน และที่สำคัญมีขยะเศษอาหารสูงถึง ๔ ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ ๖๐ ของปริมาณขยะที่ไม่สามารถกำจัดได้ลองนึกภาพดูว่า มันจะน่ากังวลขนาดไหน กับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากขยะเหล่านี้ที่กำจัดไม่ได้ ทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของคนในชุมชน อย่างไรก็ตาม นับเป็นข่าวดีอย่างยิ่งที่ในวันนี้มีนวัตกรรมที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อว่า เครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติซึ่งได้รับการพัฒนาจนสำเร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยทีมวิจัยจากฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สถาบันนวัตกรรม ปตท.ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ ทีมวิจัยคัดเลือกและพัฒนาเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยสลายขยะเศษอาหาร โดยเชื้อจุลินทรีย์จะทำงานร่วมกับเครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติที่มีความสามารถในการควบคุมสภาวะของเชื้อจุลินทรีย์ให้ทำงานย่อยสลายขยะเศษอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไร้กลิ่นเหม็นรบกวนและเชื้อรา สำหรับตัวเครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติที่ว่านี้ จะมีส่วนประกอบการทำงานอยู่ ๒ ส่วนหลักๆ คือ ส่วนย่อยสลายเศษขยะอาหาร และส่วนดูดซับกลิ่น มีศักยภาพในการรองรับปริมาณเศษขยะได้สูงสุดถึง ๕ กก. ต่อวัน แถมตัวเครื่องยังมีขนาดที่กล่าวได้ว่าประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เพราะทั้งด้านกว้าง ยาว และสูงไม่เกิน ๑ ม. นอกจากนี้ ยังมีระบบการทำงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน เพราะระบบควบคุมสภาวะต่างๆ ได้รับการติดตั้งไว้อย่างอัตโนมัติแล้ว ผู้ใช้งานเพียงแค่เปิดเครื่อง และใส่ขยะเศษอาหารพร้อมเชื้อจุลินทรีย์ของ ปตท. ได้ทันที และที่สำคัญเหนือสิ่งใด คือ นอกจากจะช่วยย่อยสลายขยะเศษอาหารแล้ว นวัตกรรมชิ้นนี้ยังทำให้ขยะเศษอาหารซึ่งเป็นของเหลือทิ้ง เกิดประโยชน์ขึ้นมาอีกด้วย เพราะหลังจากย่อยสลายขยะเศษอาหารด้วยเชื้อจุลินทรีย์ตามกระบวนการขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ผ่านไป ๑๒ ชม. เราจะได้วัสดุปรับปรุงดิน (Bio-Soil) ที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์แล้วว่า มีธาตุอาหาร NPK และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ รวมทั้งบำรุงฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพให้กลับมามีคุณภาพอีกครั้งทั้งนี้ นวัตกรรมเครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติติดตั้งทดสอบการใช้งานจริงแล้วที่อาคารบริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจอย่างยิ่ง เพราะในช่วงเวลาเพียง ๒ เดือนสามารถลดขยะเศษอาหารได้มากถึง ๑๓๙.๖ กก. และสามารถเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้ทั้งหมด ๒๙.๐๖ กก. ก่อนจะนำไปใช้ในการบำรุงต้นไม้ที่บริเวณอาคารจอดรถ ๒ จากความสำเร็จดังกล่าวนี้ สถาบันนวัตกรรม ปตท. จึงได้ร่วมมือกับบริษัท อินทรีย์ อีโคไซเคิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านการจัดการของเสียอย่างครบวงจร ร่วมกันผลักดันนวัตกรรมเครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัตินี้ในการขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ในการใช้งานในวงกว้างต่อไป จากขยะเศษอาหารที่ไร้ค่า แถมเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคน กลับกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วย Social Innovation ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และมุ่งมั่นที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยแท้จริง   ที่มา https://mgronline.com/qol/detail/9630000097843

กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน หลังจากผลการศึกษาจากอิตาลีพบว่ามีพลาสติกขนาดจิ๋วที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือที่เรียกว่า ไมโครพลาสติก สะสมอยู่ในผักและผลไม้ที่เรานิยมบริโภคกัน

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาตาเนีย ในแคว้นซิซิลี ตีพิมพ์ผลการศึกษาชิ้นนี้ในวารสาร Environmental Research โดยระบุว่า พบไมโครพลาสติกอยู่ในผักผลไม้ต่าง ๆ เช่น ผักรับประทานใบ ประเภทผักกาดหอม รวมทั้ง บรอกโคลี มันฝรั่ง และลูกแพร์ แต่พืชที่พบอนุภาคพลาสติกสะสมอยู่ในระดับสูงที่สุดได้แก่ แอปเปิล และแครอท   ทีมนักวิจัยเชื่อว่านี่เกิดจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "หยาดน้ำฟ้า" (precipitation) ซึ่งหมายถึงหยดน้ำ และน้ำแข็ง ที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำแล้วตกกลับมาสู่พื้นโลกในรูปของ น้ำฝน ลูกเห็บ และหิมะ เป็นต้น พวกเขาชี้ว่า ไมโครพลาสติกที่อยู่ในมหาสมุทรได้เกิดกระบวนการดังกล่าว แล้วไปจับตัวอยู่ในเมฆ จากนั้นได้ตกกลับสู่พื้นโลกโดยปนเปื้อนอยู่ในน้ำฝน แล้วพืชได้ดูดซับเอาไมโครพลาสติกเข้าไปทางราก ทีมนักวิจัยพบว่า ผลไม้มีระดับไมโครพลาสติกสะสมอยู่มากกว่าผัก เนื่องจากเป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีรากใหญ่ที่หยั่งลงไปในดินได้ลึกกว่าผัก ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES คำบรรยายภาพ, ไมโครพลาสติกที่พบอยู่ในมหาสมุทร ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยอีกชิ้นของทีมนักวิทยาศาสตร์ในจีนและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Sustainability โดยพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า รากของผักกาดและข้าวสาลีสามารถดูดซับไมโครพลาสติกได้ แล้วส่งอนุภาคพลาสติกไปยังส่วนที่กินได้ซึ่งอยู่เหนือพื้นดิน อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยระบุว่า ระดับของไมโครพลาสติกที่พบสะสมอยู่ในผักและผลไม้นั้น ยังมีปริมาณน้อยกว่าไมโครพลาสติกที่พบในน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกเสียอีก   ไมโครพลาสติกคืออะไร ไมโครพลาสติก เป็นอนุภาคขนาดจิ๋วของพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 5 มิลลิเมตร ไมโครพลาสติก เกิดจากพลาสติกชิ้นใหญ่กว่าที่สลายตัวออกจากกัน เช่น ขวดพลาสติก ถุงและภาชนะพลาสติกที่สลายตัวในดินหรือทะเล แล้วก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มาเรีย เวสเตอร์บอส ผู้ก่อตั้งกลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ชื่อ Plastic Soup Foundation กล่าวว่า "เราทราบกันมาหลายปีแล้วเรื่องการพบพลาสติกในสัตว์น้ำเปลือกแข็งและปลา แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ได้ทราบว่าพลาสติกเข้าไปสะสมอยู่ในผัก" "ถ้ามันเข้าไปสะสมอยู่ในพืชผักต่าง ๆ ได้ ก็เท่ากับว่ามันจะเข้าสู่สิ่งมีชีวิตทุกอย่างที่กินพืช ซึ่งหมายถึงเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ" "สิ่งที่เราต้องค้นหาคือมันจะส่งผลต่อพวกเราอย่างไร" เวสเตอร์บอส กล่าว ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การบริโภคไมโครพลาสติกเข้าไปจะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพของคนเรา แต่หลายฝ่ายชี้ว่าข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเรื่องที่ "น่ากังวล"   ที่มา: BBC NEW

จากกรณีเกิดเหตุคนงานดูดสิ่งปฏิกูลเสียชีวิต เนื่องมาจากสภาวะการขาดอากาศหายใจ ในขณะที่ลงไปทำงานภายใน บ่อเกรอะ ที่สถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2563 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต ทั้งหมด 3 ราย เป็นชายอายุ 36 ปี 16 ปี และ 14 ปี ตามลำดับ

  เหตุการณ์ดังกล่าวฯ สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ปฏิบัติงานทั้ง 3 ราย โดยอาจเป็นไปได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดเสียชีวิตจากสภาวะการขาดอากาศหายใจ ซึ่งน่าจะมาจาก ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า ซึ่งเป็นก๊าซไวไฟที่มีความเป็นพิษสูง มีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศ ก่อให้เกิดการสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณล่างของถังที่มีอากาศถ่ายเท ไม่สะดวก ทำให้ปริมาณออกซิเจนน้อย เมื่อผู้ปฏิบัติงาน ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ดังกล่าวฯ และมีการสูดดมก๊าซ จะทำให้หมดสติ ขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตได้         เหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว ได้เคยเกิดขึ้นในอดีตมาหลายครั้ง และมักมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 รายในแต่ละครั้ง ที่เกิดเหตุ จากข้อมูลกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ซึ่งรวบรวมสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตในที่อับอากาศระหว่างปี 2546-2561 จำนวน 62 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 130 ราย หรือเฉลี่ย 2 รายต่อเหตุการณ์ โดยเหตุดังกล่าวมักเกิดจากความผิดพลาด ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการขออนุญาตในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และผู้ปฏิบัติงาน ในภาวะการทำงานปกติ และเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งขาดการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด   แนวทางการป้องกันแก้ไข ต้องขออนุญาตเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานก่อนลงมือทำงาน พร้อมแจ้งรายชื่อ อายุ  ของผู้ปฏิบัติงาน  วัน เวลา และสถานที่/ตำแหน่ง ที่จะเข้าทำงาน โดยผ่านความเห็นชอบจากเจ้าของสถานประกอบกิจการ   การปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ และผู้เฝ้าระวังในการทำงานในที่อับอากาศ ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ   ต้องมีการตรวจวัดสภาพบรรยากาศในที่อับอากาศก่อนเริ่มการปฏิบัติงาน เช่น ปริมาณออกซิเจน ปริมาณก๊าซที่ติดไฟได้ (%LEL) และก๊าซพิษอื่น ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการระบายอากาศ หากมีสภาพบรรยากาศที่เป็นอันตราย   จัดทำแผนฉุกเฉิน และจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน หากเกิดกรณีฉุกเฉิน ในที่อับอากาศ     ข้อมูลอ้างอิง กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ข้อมูลสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตในที่อับอากาศ จากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

logoTEST TECH

บริษัท เทสท์ เทค จำกัด (สำนักงานใหญ่)
30, 32 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 63 ถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร: 02-893-4211-17, 087-928-5554
แฟกซ์: 02-893-4218
อีเมล: info@testtech.co.th, wanwalee.d@testtech.co.th
เราใช้คุกกี้ในเว็บไซต์ของเราเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเว็บไซต์ และเพื่อการให้บริการที่ดีที่สุดสําหรับคุณ โปรดอ่านนโยบายการใช้คุกกี้ เมื่อคุณเข้าใช้เว็บไซต์นี้เราถือว่าคุณยินยอมให้จัดเก็บและเข้าถึงคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณ
3000
4900
th